Friday 20 November 2009

Presentation

วันนี้ผ่านไปแล้วครับสำหรับการพรีเซนต์ของผมและเพื่อนๆ ในกลุ่ม กว่าจะผ่านไปได้ก็ต้องอาศัยความพยายามกันมากว่าอาทิตย์หนึ่งในการเตรียมตัว เนื่องจากว่าเนื้อหาที่ต้องนำสเนอเนี่ยะมันไม่ได้ใกล้ตัวเลยสักนิด

เรื่องที่วันนี้ผมนำเสนอก็คือเรื่อง Judicial review of legislation: Constituional model ดูแค่ชื่อเรื่องก็งงแล้ว ขนาดผมเองเป็นคนทำงานนี้เองยังงได้โล่เลย กว่าจะรู้เรื่องว่าได้นี่คืออะไร แถมเนื้อหาทั้งหมดของโมเดลนี้ก็เป็นนวัตกรรมอันสวยงามของอเมริกันชนอีกต่างหาก ดังนั้นยากมากในการที่จะไปเข้าใจฝรั่งตาน้ำข้าว


แต่เอาเป็นว่าวันนี้จะลองอธิบายไอ้เรื่องนี้เป็นภาษาไทยสักนิดหน่อยแล้วกัน เพราะอันที่จริงประเทศไทยเราก็เอาระบบนี้ไปปรับใช้เหมือนกัน

แนวคิดหลักของ constitutional model เนี่ยะก็คือการที่ศาลมีอำนาจในการที่จะพิจารณาว่ากฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกมาเพื่อบังคับใช้เนี่ยะมันขัดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า หากศาลสรุปว่ากฎหมายฉบับนั้นๆ มันขัดรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นก็จะนำมาบังคับใช้ไม่ได้ ตามโมเดลนี้ในประเทศอเมริกา ศาลทุกศาลมีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ได้ (ต่างจากในอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่ประเด็นของการขัดรัฐธรรมนูญนั้นจะพิจารณาโดยศาลพิเศษ หรือเฉพาะเท่านั้น บ้านเราก็คือศาลรัฐธรรมนูญไง)


ประเด็นในเรื่องนี้ก็คือ เกิดปัญหาว่าการออกกฎหมายเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร แต่การพิจารณาการขัดรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจตุลาการ ดังนั้นการเมืองจึงสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องกับศาลได้ ในอเมริกาจึงเกิดการขัดกันของทางปฏิบัติสองทองคือ ศาลจะพิจารณาเรื่องนั้น หรือศาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงดี (Judicial activism versus judicial restraint)

ในประเทศอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ศาลมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง ดังนั้นศาลจะไม่พิจาณาแทรกแซงพร่ำเพรื่อ จะเข้ามาแทรกแซงเฉพาะกรณีที่สำคัญจำเป็นจริงๆ เพราะศาลมองว่าเป็นเรื่องทางการเมือง (the concept of judicial restraint)

แต่อย่างไรก็ดีใน Brown case, 1954 US Supreme Court ก็กลับคำพิพากษาบรรทัดฐานที่วางมาโดยการวินิจฉัยว่าเรื่องการขัดรัฐธรรมนูญนี้เป็นเรื่องการพิจารณาว่ากฎหมายที่ออกมานั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัญธรรมนูญหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องว่าเป็นประเด็นทางการเมืองของฝ่ายบริหารและตุลาการ ดังนั้นหลัง Brown case ศาลในอเมริกาจึงเดือนตามแนวคิดที่ว่าศาลควรเข้าแทรกแซงเพื่อพิจารณาประเด็นการขัดรัฐธรรมนูญ (the concept of judicial activism)


ซึ่งหากประเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้ว ไทยเองก็รับเอา Constitutional model มาจากยุโรป โดยมีรูปแบบของ German model ซึ่งจะมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาการขัดรัฐธรรมนูญ

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้


หวังว่าจะเข้าใจกันบ้างนะครับ

No comments: