Thursday, 10 April 2008

Large Intestine

สวัสดีทู้กคน เห็นว่าหนุ่ยหายหน้าหายตาไปหลายวัน ไม่ได้หายไปไหนไกลหรอก พอดีพามารดาไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธมา โดยในครั้งนี้ตรวจหลายอบ่างรวมถึงการส่องกล้องตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย พอดีเห็นว่าเป็นความรู้ใหม่ก็เลยอยากมาแชร์กัน






















สำไส้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ


ส่วนที่ 1 ซีกัม (Caecum) เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ยาวประมาณ 6.3-7.5 เซนติเมตร มีไส้ติ่ง (Appendix) ยื่นออกมาขนาดราวนิ้วก้อย (ยาวประมาณ 3 นิ้ว) เหนือท้องน้อย ทางด้านขวา ไส้ติ่งถือว่าเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง ในสัตว์กินพืชจะมีขนาดยาว ทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารในคนไม่มีประโยชน์ ถ้าอักเสบต้องรีบผ่าตัดออกโดยเร็ว


ส่วนที่ 2 โคลอน (Colon) เป็นส่วนที่ยาวที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ โคลอนส่วนขึ้น (AscendingColon) เป็นส่วนของโคลอนที่ยื่นตรงขึ้นไปเป็นแนวตั้งฉากทางด้านขวาของช่องท้อง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โคลอนส่วนขวาง (Transverse Colon) เป็นส่วนที่วางพาดตามแนวขวางของช่องท้องยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โคลอนส่วนล่าง (Descending Colon) เป็นส่วนที่วิ่งตรงลงมาเป็นแนวตั้งฉากทางด้านซ้ายของช่องท้อง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร


ส่วนที่ 3 ไส้ตรง (Rectum) เป็นส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเป็นท่อตรง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ตรงปลายของไส้ตรงจะเป็น ทวารหนัก (Anus) โดยมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 อัน ควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูดด้านใน ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ไม่อยู่ใต้บังคับของจิตใจ ส่วนกล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกอยู่ใต้บังคับของจิตใจ และสำคัญมากในการควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก


โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นเนื้องงอกชนิดร้ายแรงและเป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อยในประเทศไทย มีการศึกษาพบว่าในระยะเริ่มต้นของโรคจะมีการเพิ่มจำนวนของเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้กลายเป็นติ่งเนื้อ (Polyp) หลังจากนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งใช้เวลานาน 5-10 ปี ของติ่งเนื้อจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นการตรวจหาติ่งเนื้อเพื่อตัดออกก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง


จึงเป็นหลักการสำคัญในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในปัจจุบันการตรวจด้วยการส่องกล้องเข้าไปในลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจมาตรฐานเพื่อตรวจหาติ่งเนื้อและมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ดีมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่ไม่ต้องการส่องกล้อง หรือมีข้อห้ามในการตรวจ CT Colonography จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการคัดกรองตรวจหาติ่งเนื้อหรือก้อนมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้ โดยที่ไม่ต้องทำการใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกาย


ในปัจจุบันการตรวจเพื่อคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่จะแนะนำให้เริ่มในบุคคลทั่วไปตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยทำการตรวจทุก 5-10 ปี อย่างไรก็ดีในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจจำเป็นต้องตรวจเร็วขึ้นนอกจากนี้อาการผิดปกติบางชนิด เช่น ถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายท้องผูกสลับท้องเสีย อาจเป็นการแสดงของโรคนี้ได้


เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาก็พาแม่ พร้อมด้วยป้าไปตรวจโดยการส่องกล้องที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ พอตรวจเสร็จขณะที่แม่ยังคงหลับอยู่ในห้องตรวจ หมอก็เรียกญาติไปคุยด้วย ตกใจเลย.....


จากการคุยกับหมอที่ส่องกล้องแม่ผม หมอบอกว่าคนสูงอายุที่ตรวจ 1 ใน 5 คน จะตรวจพบติ่งเนื้อ สำหรับวันนี้แม่กับป้าผมเข้าตรวจพร้อมกัน แล้วก็พบติ่งเนื้อด้วยทั้งคู่เลย ซึ่งติ่งนี้หากปล่อยไว้สัก 5-10 ปีจะกลายเป็นมะเร็งคร้าบ


หมอก็เลยตัดออกแล้วส่งไปพิสูจน์ชิ้นเนื้อผลล่าสุดหลังการพิสูจน์ชิ้นเนื้อ เป็นเนื้อดี ครับ ก็เลยโล่งใจทีเดียว เพราะรอผลมาสองวันดังนั้นฝากบอกเพื่อนๆ พาพ่อแม่ไปตรวจกันบ้างนะครับ เพราะเท่าที่ทราบมา มะเร็งลำไส้ใหญ่จะไม่แสดงอาการจนกระทั่งเข้าระยะที่สาม ถ้าตรวจพบในระยะแรกๆสามารถรักษาให้หายขาดได้เลย

ที่มา
1. Knowledge for Thai student http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/phunnee_p/index_di.html

2. โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธhttp://www.vichaiyut.co.th/thai/news_detail.asp?id=76

No comments: